Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/70941
Title: ความสัมพันธ์ระหว่างค่านิยมทางวัตถุกับความพึงพอใจในชีวิต : การศึกษาเปรียบเทียบระหว่างผู้ปฏิบัติศาสนกิจตามแนวสันติอโศก ผู้เป็นสมาชิกสโมสรโรตารี และพนักงานทั่วไปในองค์การขนาดใหญ่ ในเขตกรุงเทพมหานคร
Other Titles: The relationship between materialistic values and life satisfaction : a comparison among Santi Asoke religious practitioners, Rotary Club Members, and general employees of a large organization in the Bangkok Metropolis
Authors: วัชราภรณ์ เพ่งจิตต์
Advisors: ธีระพร อุวรรณโณ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะจิตวิทยา
Subjects: วัตถุนิยม
ความพอใจในชีวิต
การปรับตัว (จิตวิทยา)
ค่านิยม
Issue Date: 2543
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างค่านิยมทางวัตถุกับความพึงพอใจในชีวิตโดยรวมและความพึงพอใจในแง่มุมย่อยของชีวิต 5 ด้าน ได้แก่ ความพึงพอใจในชีวิตการทำงาน ชีวิตครอบครัว ความสัมพันธ์ทางสังคมกับผู้อื่น มาตรฐานการครองชีพ และสุขภาพร่างกาย รวมทั้งศึกษาเปรียบเทียบค่านิยมทางวัตถุ และความพึงพอใจในชีวิตโดยรวมในกลุ่มผู้ปฏิบัติศาสนกิจตามแนวสันติอโศก ผู้เป็นสมาชิกสโมสรโรตารี และพนักงานทั่วไปในองค์การขนาดใหญ่ ในเขตกรุงเทพมหานคร ผลการวิจัยพบว่า 1. ค่านิยมทางวัตถุมีสหสัมพันธ์เชิงเส้นตรงทางลบกับความพึงพอใจในชีวิตโดยรวม (r = -.22, p< .001) และมีความสัมพันธ์กับความพึงพอใจในชีวิตการทำงาน (r = -.17, p< .001) ความพึงพอใจในความสัมพันธ์ทางสังคม (r = -16,p= .001 ) ความพึงพอใจในมาตรฐานการครองชีพ (r = -.39, p< .001 ) และความพึงพอใจในสุขภาพร่างกาย (r = -.22,p< .001 ) แต่ไม่มีสหสัมพันธ์กับความพึงพอใจในชีวิตครอบครัว (r = -.08) 2. ผู้ปฏิบัติคาสนกิจตามแนวสันติอโศกมีระดับค่านิยมทางวัตถุตํ่ากว่าผู้เป็นสมาชิกสโมสรโรตารี (p< .001) และพนักงานทั่วไปในองค์การขนาดใหญ่ (p< .001) และผู้เป็นสมาชิกสโมสรโรตารีมีระดับค่านิยมทางวัตถุไม่แตกต่างจากพนักงานทั่วไปในองค์การขนาดใหญ่ 3. ผู้ปฏิบัติคาสนกิจตามแนวสันติอโศกมีระดับความพึงพอใจในชีวิตโดยรวมไม่แตกต่างจากผู้เป็นสมาชิกสโมสรโรตารีและพนักงานทั่วไปในองค์การขนาดใหญ่ และผู้เป็นสมาชิกสโมสรโรตารีมีระดับความพึงพอใจในชีวิตโดยรวม สูงกว่าพนักงานทั่วไปในองค์การขนาดใหญ่ (p = .001) 4. ความพึงพอใจในชีวิตการทำงาน ความพึงพอใจในชีวิตครอบครัว ความพึงพอใจในความสัมพันธ์ทางสังคมความพึงพอใจในมาตรฐานการครองชีพ และความพึงพอใจในสุขภาพร่างกาย สามารถร่วมกันทำนายความพึงพอใจในชีวิตโดยรวมได้ (F = 37.395, p< .001) 5. ในกลุ่มผู้มีค่านิยมทางวัตถุสูง ค่าสหสัมพันธ์ระหว่างความพึงพอใจในมาตรฐานการครองชีพกับความพึงพอใจในชีวิตโดยรวม มีค่าไม่แตกต่างจากค่าที่พบในกลุ่มผู้มีค่านิยมทางวัตถุตํ่า และในกลุ่มผู้มีค่านิยมทางวัตถุสูง ความพึงพอใจในมาตรฐานการครองชีพ มีน้ำหนักในการทำนายความพึงพอใจในชีวิตโดยรวมสูงที่สุด (β = 0.50, p< .001) เมื่อเทียบกับความพึงพอใจในชีวิตการทำงาน (β = 0.13) ความพึงพอใจในชีวิตครอบครัว (β = 0.04) ความพึงพอใจในความสัมพันธ์ทางสังคม (β = 0.04) และความพึงพอใจในสุขภาพร่างกาย (β = 0.11 )
Other Abstract: The purposes of this research were to study the relationships between materialistic values, overall life satisfaction, and satisfaction of five subdomains of life: job, family life, social life, standard of living, and physical health, and to compare the differences of materialistic values and overall life satisfaction of Santi Asoke religious practitioners, Rotary club members, and general employees of A large organization เท Bangkok metropolis. Findings are as follow: 1. Materialistic values have significant negative linear correlations with overall life satisfaction (r= -.22, p<.001), job satisfaction (r = -.17, p< .001), social life satisfaction (r= -.16, p = .001), standard of living satisfaction (r = -.39, p< .001), and physical health satisfaction (r= -.22, p< .001), but has no relationship with family life satisfaction (r = -.08). 2. Santi Asoke religious practitioners have significantly lowest score in materialistic values comparing to the Rotary club members (p<.001), and general employees of a large organization (p<.001), which are not different from each other. 3. Santi Asoke religious practitioners do not differ from Rotary club members and general employees of a large organization in overall life satisfaction, and Rotary club members have significantly higher score in overall life satisfaction than general employees of a large organization (p=.001). 4. Job satisfaction, family life satisfaction, social life satisfaction, standard of living satisfaction, and physical health satisfaction, together, can predict overall life satisfaction significantly (F = 37.395, p<.001). 5. In high-materialistic values group, correlation coefficient between standard of living and overall life satisfaction do not differ from one in low-materialistic values group, and standard of living satisfaction has the highest regression coefficient (β = 0.50, p<.001), comparing to job satisfaction (β = 0.13), family life satisfaction (β = 0.04), social life satisfaction (β = 0.04), and physical health satisfaction (β = 0.11 ) in the prediction of overall life satisfaction in high-materialistic values group.
Description: วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยลัย, 2543
Degree Name: ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: จิตวิทยาสังคม
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/70941
ISBN: 9741306369
Type: Thesis
Appears in Collections:Psy - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Watcharaporn_pe_front_p.pdfหน้าปก สารบัญ และบทคัดย่อ962.44 kBAdobe PDFView/Open
Watcharaporn_pe_ch1_p.pdfบทที่ 12.22 MBAdobe PDFView/Open
Watcharaporn_pe_ch2_p.pdfบทที่ 21.06 MBAdobe PDFView/Open
Watcharaporn_pe_ch3_p.pdfบทที่ 31.25 MBAdobe PDFView/Open
Watcharaporn_pe_ch4_p.pdfบทที่ 41.08 MBAdobe PDFView/Open
Watcharaporn_pe_ch5_p.pdfบทที่ 5728.18 kBAdobe PDFView/Open
Watcharaporn_pe_back_p.pdfบรรณานุกรมและภาคผนวก2.34 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.