Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/72294
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorกิตติ กันภัย-
dc.contributor.authorสุดาวรรณ เตชะวิบูลย์วงศ์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์-
dc.date.accessioned2021-02-15T07:42:05Z-
dc.date.available2021-02-15T07:42:05Z-
dc.date.issued2543-
dc.identifier.isbn9743466029-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/72294-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543en_US
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพี่อค้นหาสัญลักษณ์และความหมายของสัญลักษณ์ที่ปรากฏในสารโฆษณาการท่องเที่ยวที่เผยแพร่ในโครงการ Amazing Thailand และเพี่ออธิบายถึงกระบวนการสื่อสารเชิงสัญลักษณ์ของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวไทยในยุคหลังสมัยใหม่ โดยการวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ทฤษฎีและแนวคดที่นำมาเป็นกรอบในการวิเคราะห์ ได้แก่ ทฤษฎีวิพากษ์ ทฤษฏีสัญญะวิทยา แนวคิดเรื่องสัญลักษณ์ แนวคิดเรื่องการท่องเที่ยว และแนวคิดเรื่องการโหยหาอดีต ซึ่งผลการวิจัยมีดังนี้ สัญลักษณ์ที่พบในเนื้อหาสารโฆษณาการท่องเที่ยวมีทั้งหมด 12 ประเภท ดังนี้ 1) หัตถกรรม 2) อาหาร 3) วัตถุสิ่งของ 4) สิ่งก่อสร้าง 5) สถานที่ 6) ธรรมชาติ 7) กิจกรรม 8) พาหนะ 9) การแสดง 10) คน 11) สัตว์ และ 12) พืช และสัญลักษณ์เหล่านั้นถูกใช้เพื่อสื่อทั้งความหมายโดยตรงและความหมายโดยนัยไปพร้อม ๆ กัน ซึ่งสำหรับการสื่อความหมายโดยนัยนั้น พบว่าประกอบไปด้วยเรื่องต่าง ๆ ดังนี้คือ เรื่องวัฒนธรรมไทย เรื่องธรรมชาติ และเรื่องเชิงพาณิชย์ กระบวนการสื่อสารเชิงสัญลักษณ์ในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวยุคหลังสมัยใหม่ ประกอบไปด้วยองศ์ประกอบ 4 ประการดังนี้ 1) นายทุนผู้ผลิตสินค้าทางการท่องเที่ยว ได้แก่ '‘ภาครัฐบาลและภาคเอกชน” ทำหน้าที่เป็นผู้ส่งสารของกระบวนการสื่อสารเชิงสัญลักษณ์นี้ 2) สารที่เกี่ยวกับการท่องเที่ยวในโครงการ Amazing Thailand นั้น เป็นสารที่มีกลยุทธ์การนำเสนอด้วย “สัญลักษณ์” เนื่องจากพบว่ามีการใช้สัญลักษณ์ต่างๆ มากมายในการสื่อความ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสัญลักษณ์ประเภทที่แสดงความหมายเรื่องวัฒนธรรมมีมากที่สุด 3) ช่องทางการสื่อสาร ทั้งสื่อโทรทัศน์วิทยุ และสิ่งพิมพ์ ที่เป็นช่องทางหลักในการถ่ายทอดสารเกี่ยวกับการท่องเที่ยวในโครงการนี้ โดย “โทรทัศน์” และ "สิ่งพิมพ์” จะเป็นช่องทางที่เหมาะสมที่สุดในการนำเสนอสัญลักษณ์ 4) นักท่องเที่ยวซึ่งส่วนใหญ่เป็น ''ชนชั้นกลาง” ผู้บริโภคสินค้าทางการท่องเที่ยว ซึ่งมีความต้องการที่หลากหลายแตกต่างกันมาก รวมทั้งมีความต้องการอนุรักษ์คุณค่าแบบเก่าหรือโหยหาอดีตด้วย ทำหน้าที่เป็นผู้รับสารของกระบวนการสื่อสารเชิงสัญลักษณ์นี้en_US
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this research are to search for the symbols that appeared in the tourism advertisements, to explain the meaning of those symbols and to describe the symbolic interactive communication of the tourism industry in the postmodern age. This study uses a qualitative approach which has critical theory, semiology, theory of symbol, tourism, and postmodern concept as its theoretical and conceptual framework. The results of this research are that there are 12 kinds of symbols found in the tourism advertisements that were launched during the Amazing Thailand Years. These symbols included handicrafts, gastronomy, objects, buildings, places, nature, leisure activities, vehicle, performance, human beings, animals, and plants. They were used by the sender to convey both manifest and symbolic meaning to the receiver. The symbolic interactive communication of the tourism industry of Thailand in postmodern age is related to 4 factors which are 1) The capitalists in both government and private sectors who produce tourism products are acting as the sender. 2) Many kinds of symbols are presented เท the tourism advertisements. Most of them convey a symbolic meaning about Thai culture. 3) Television media and printed media are the most suitable channels to deliver the symbolic messages. 4) The middle class tourists who have different demands are acting as the receiver.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectทฤษฎีวิพากษ์en_US
dc.subjectสัญศาสตร์en_US
dc.subjectการท่องเที่ยวen_US
dc.subjectโพสต์โมเดิร์นนิสม์en_US
dc.titleกระบวนการสื่อสารเชิงสัญลักษณ์ผ่านสื่อมวลชน ในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวยุคหลังสมัยใหม่ในโครงการ Amazing Thailanden_US
dc.title.alternativeSymbolic interactive communication of tourism industry in postmodern age of the "Amazing Thailand Campaign"en_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameนิเทศศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineการสื่อสารมวลชนen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorไม่มีข้อมูล-
Appears in Collections:Comm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sudawan_te_front_p.pdfหน้าปก สารบัญ และบทคัดย่อ820.55 kBAdobe PDFView/Open
Sudawan_te_ch1_p.pdfบทที่ 1997.28 kBAdobe PDFView/Open
Sudawan_te_ch2_p.pdfบทที่ 21.32 MBAdobe PDFView/Open
Sudawan_te_ch3_p.pdfบทที่ 3716.42 kBAdobe PDFView/Open
Sudawan_te_ch4_p.pdfบทที่ 4921.31 kBAdobe PDFView/Open
Sudawan_te_ch5_p.pdfบทที่ 51.51 MBAdobe PDFView/Open
Sudawan_te_ch6_p.pdfบทที่ 62.61 MBAdobe PDFView/Open
Sudawan_te_ch7_p.pdfบทที่ 7842 kBAdobe PDFView/Open
Sudawan_te_back_p.pdfบรรณานุกรมและภาคผนวก6.02 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.