Chulalongkorn University Intellectual Repository - CUIR
Chulalongkorn University Intellectual Repository - CUIR, administered by the Office of Academic Resources (OAR), Chulalongkorn University, started to operate in 2006 as the first intellectual repository in Thailand. CUIR collects and provides access to information resources that are scholarly works of the University members which include research reports, theses, independent studies, academic projects, textbooks, journal articles, handouts, event videos and other works by the faculties, researchers, students as well as organizations of Chulalongkorn University. Being preserved and digitized for long-term access, CUIR not only facilitates the study, research and creation of scholarly works by internal and external users, but also showcases Chulalongkorn University scholarly works to international community.
CUIR is managed by 2 divisions of OAR, namely Library Information Management Division and Library Information Technology Division. Currently, CUIR holds 67,800 records of digital information resources date from 1943 to the present. Since the beginning, the handling process of CUIR digital information resources follows international standard practice to ensure reliability. By November 2020, the Office of Academic Resources has been certified for the International Standard for Quality Management Systems (ISO 9001: 2015) in all processes across-the-board which help secure the depositors and the users’ trust in the quality and long-term availability of CUIR information resources.
Information Resources in CUIR
1. Thesis
2. Independent Study
3. Senior Project
4. Research Report
5. Journal Article
6. Book and Textbook
7. Handout
8. Learning Material
9. Best Practice Manual
10. OAR Archives
11. Image and Multimedia
CUIR User Communities
1. Creators and depositors.
CUIR focuses on collecting academic and valuable works created by 4 groups of CU communities that are:
1.1 Students
1.2 Faculties
1.3 Researchers
1.4 CU organizations and staff
2. Users.
CUIR is an open access repository that allows CU communities and general public worldwide to search, access and download unlimited digital files from online database. These users are categorized into the following groups:
2.1 Students
2.2 Faculties
2.3 Researchers
2.4 General public
Contact Us
Facebook: Chulalongkorn University Intellectual Repository
Library Information Management Division
Office of Academic Resources
Chulalongkorn University
Tel. 02-218-2929
E-mail: cuir@car.chula.ac.th
คลังปัญญาจุฬาฯ เพื่อประเทศไทย - CUIR
คลังปัญญาจุฬาฯ เพื่อประเทศไทย (Chulalongkorn University Intellectual Repository : CUIR) ดำเนินการโดยสำนักงานวิทยทรัพยากร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เริ่มเปิดดำเนินการมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2549 โดยเป็นคลังสถาบันแห่งแรกของประเทศไทย ซึ่งทำหน้าที่เป็นคลังจัดเก็บและให้บริการสารสนเทศที่เป็นภูมิปัญญาของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้แก่ รายงานการวิจัย วิทยานิพนธ์ สารนิพนธ์ โครงงานทางวิชาการ หนังสือตำรา บทความวารสารทางวิชาการ เอกสารประกอบการบรรยาย วีดีทัศน์บันทึกเหตุการณ์ และผลงานอื่นๆ ทั้งของคณาจารย์ นักวิจัย นิสิต และหน่วยงานต่างๆ ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อการสงวนรักษา และแปลงสภาพทรัพยากรสารสนเทศให้เป็นสื่อดิจิทัล (Digitize) เพื่อให้คงอยู่และเข้าถึงทรัพยากรสารสนเทศได้ระยะยาว อีกทั้งช่วยอำนวยความสะดวกในการให้บริการแก่ผู้ใช้บริการทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย ในการศึกษาค้นคว้า วิจัย และสร้างผลงานทางวิชาการต่างๆ นอกจากนี้ยังเป็นการช่วยเผยแพร่ผลงานทางวิชาการของมหาวิทยาลัยให้เป็นที่ประจักษ์แก่นานาชาติได้อีกด้วย
คลังปัญญาจุฬาฯ ถูกขับเคลื่อนในการดำเนินงานโดย 2 ฝ่าย ของสำนักงานวิทยทรัพยากร ได้แก่ ฝ่ายจัดการข้อมูลสารสนเทศ และฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศห้องสมุด ปัจจุบันคลังปัญญาจุฬาฯมีผลงานวิขาการ ครอบคลุมตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2486 จนถึงปัจจุบัน และมีจำนวนทรัพยากรสารสนเทศดิจิทัลมากถึง 67,800 ระเบียน ที่ผ่านมาการบริหารคลังปัญญาจุฬาฯ ได้ดำเนินการจัดการทรัพยากรสารสนเทศดิจิทัลทุกอย่างตามขั้นตอน และได้รับมาตรฐานสากลที่เชื่อถือได้ ทั้งนี้เมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2563 ทางสำนักงานวิทยทรัพยากร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ผ่านการการรับรองคุณภาพมาตรฐาน ISO 9001 : 2015 ครอบคลุมทุกกระบวนการ และทั่วทั้งองค์กร ซึ่งช่วยให้ผู้ที่นำฝากผลงาน และผู้ใช้บริการเกิดความมั่นใจได้อย่างเต็มที่ว่าผลงานวิชาการต่างๆ ที่ให้บริการในคลังปัญญาจุฬาฯ จะเป็นทรัพยากรสารสนเทศที่ดี มีคุณภาพ และสามารถเข้าถึงได้ในระยะยาว
ชุมชนผู้ใช้คลังสารสนเทศ
ชุมชนผู้ใช้คลังปัญญาจุฬาฯ แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่
1. กลุ่มผู้สร้างสรรค์และนำฝากผลงาน โดยคลังปัญญาจุฬาฯ เป็นคลังสารสนเทศที่เน้นการรับฝากผลงานวิชาการและทรงคุณค่าของประชาคมจุฬาฯ ที่ผลิตขึ้นมา โดยครอบคลุมใน 4 กลุ่ม ดังนี้
1.1 นิสิต / นักศึกษา
1.2 อาจารย์
1.3 นักวิจัย
1.4 หน่วยงานต่างๆ ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
2. กลุ่มผู้ใช้บริการทรัพยากรสารสนเทศ คลังปัญญาจุฬาฯ เป็นคลังข้อมูลแบบเปิดที่ให้บริการการสืบค้นและเข้าถึงได้อย่างเสรี (Free Open Access Online Database) โดยประชาคมจุฬาฯ และบุคคลทั่วไป ทั่วโลก สามารถเข้าถึงและใช้บริการสืบค้นและดาวน์โหลดไฟล์ดิจิทัลได้อย่างไม่จำกัด โดยแบ่งออกเป็น 4 กลุ่มบุคคล ดังนี้
2.1 นิสิต / นักศึกษา
2.2 อาจารย์
2.3 นักวิจัย
2.4 ประชาชนทั่วไป
ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม
คลังปัญญาจุฬาฯ เพื่อประเทศไทย (CUIR)
กลุ่มภารกิจจัดการทรัพยากรสารสนเทศ
ฝ่ายจัดการข้อมูลสารสนเทศ
สำนักงานวิทยทรัพยากร
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
โทร. 02-218-2929
E-mail: cuir@car.chula.ac.th