การบำรุงรักษาไฟล์ดิจิทัล รับผิดชอบโดยฝ่ายจัดการข้อมูลสารสนเทศ ทุกไตรมาสที่ 1 และ 3 ของแต่ละปีงบประมาณ (เดือนตุลาคม – ธันวาคม, เดือนเมษายน - มิถุนายน) โดยทำการตรวจสอบชุดไฟล์ ดังนี้
1. ชุดไฟล์ต้นฉบับสำหรับการนำเข้า (Submission Information Package : SIP) ซึ่งจัดเก็บไว้ที่เครื่องแม่ข่าย “CUIR_SIP” ให้ตรวจสอบความคงสภาพของไฟล์ข้อมูล การเปิดใช้งานได้อย่างครบถ้วนสมบูรณ์ และตรวจสอบความจริงแท้ของข้อมูลระหว่างไฟล์ชุดต้นฉบับสำหรับการนำเข้า (SIP) กับชุดไฟล์ที่ใช้สำหรับจัดเก็บให้บริการ (AIP) ด้วยวิธีการสุ่มตรวจ ทั้งนี้หากตรวจพบไฟล์ดังกล่าวที่ถูกจัดเก็บมีสภาพชำรุด ไม่สามารถเปิดใช้งานได้แล้ว หรือกึ่งล้าสมัยแล้ว จะดำเนินการนำเอาไฟล์ชุด AIP ที่จัดเก็บไว้ในระบบคลังปัญญาจุฬาฯ มาดำเนินการแปลงสภาพไฟล์ให้เป็นไฟล์ใหม่ตามเอกสาร “มาตรฐานรูปแบบไฟล์ในการจัดเก็บและให้บริการในคลังปัญญาจุฬาฯ” และถ้าหากไฟล์ชุด SIP และ AIP ไม่เหมือนกัน คนละรุ่นกัน ให้วิเคราะห์ หาสาเหตุ และหาข้อสรุป กรณีเป็นสิ่งพิมพ์ ให้เปรียบเทียบไฟล์ กับตัวเล่ม หากชุดไหนตรงกับตัวเล่มที่ให้บริการ ให้ยึดเอาไฟล์ชุดนั้นเป็นชุดที่ใช้ในการสงวนรักษา ทำการอัพเดทรายการเมทาดาทา จัดการไฟล์ดิจิทัล และจัดเก็บไฟล์ทั้ง 2 ชุด ลงในเครื่องแม่ข่ายทั้ง 2 แต่ถ้าหากไม่มีตัวเล่มให้บริการ ให้ทางเจ้าหน้าที่ส่งไฟล์ทั้ง 2 ชุด ให้เจ้าผลงานเป็นผู้ตรวจสอบ และให้ข้อสรุปว่าชุดไหน คือ ชุดที่ถูกต้องในการเผยแพร่ และการสงวนรักษา จากนั้นทำการอัพเดทรายการเมทาดาทา จัดการไฟล์ดิจิทัล และจัดเก็บไฟล์ทั้ง 2 ชุด ลงในเครื่องแม่ข่ายทั้ง 2 ด้วยเช่นกัน
2. ชุดไฟล์ข้อมูลสำหรับการเผยแพร่ในคลังปัญญาจุฬาฯ (Archival Information Package : AIP) ซึ่งจัดเก็บไว้ในเครื่องแม่ข่ายระบบคลังปัญญาจุฬาฯ ให้ตรวจสอบความคงสภาพของไฟล์ข้อมูล การเปิดใช้งานได้อย่างครบถ้วนสมบูรณ์ และชนิดของไฟล์ ทั้งนี้หากพบว่าไฟล์ที่จัดเก็บนั้นมีสภาพชำรุด และไม่สามารถเปิดใช้งานได้ หรือกึ่งล้าสมัยแล้ว ให้ดำเนินการนำเอาไฟล์ชุดที่ 1 มาแปลงสภาพเป็นไฟล์ใหม่ให้ตรง“มาตรฐานรูปแบบไฟล์ในการจัดเก็บและให้บริการในคลังปัญญาจุฬาฯ” พร้อมทั้งจัดการไฟล์ตามขั้นตอนใน “คู่มือการจัดการไฟล์ดิจิทัลและการนำข้อมูลเข้าสู่คลังปัญญาจุฬาฯ (CUIR)” (WI-LIM-05) ต่อไป
การดูแล และบำรุงรักษาระบบคลังปัญญาจุฬาฯ รับผิดชอบโดยฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศห้องสมุดโดยทุกไตรมาสที่ 1 ของแต่ละปีงบประมาณ (เดือนตุลาคม - ธันวาคม) ทางเจ้าหน้าที่ของฝ่ายจะต้องกำหนดแผนในการตรวจสอบและบำรุงรักษาระบบคลังปัญญาจุฬาฯ (CUIR) ตามคู่มือการทำงานการดูแลรักษาความปลอดภัยของโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ และตาม “คู่มือการบำรุงรักษาระบบคอมพิวเตอร์ (WI-ITM-03)” และต้องจัดให้มีการบำรุงรักษาเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่ายระบบคลังปัญญาจุฬาฯ อุปกรณ์เครือข่าย และเครื่องสำรองไฟ ทุก 3 เดือน หากพบความผิดปกติในการประมวลผล ในการดำเนินระบบงาน หรือมีการใช้ทรัพยากรของระบบใกล้เต็มความสามารถ หรือเกินความสามารถของระบบต้องรีบแจ้งให้ผู้อำนวยการฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศห้องสมุดรับทราบและทางฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศห้องสมุดต้องดำเนินการให้ระบบดำเนินการโดยปกติโดยเร็วที่สุด หรือจัดให้มีทรัพยากรระบบให้เพียงพอต่อการจัดเก็บข้อมูลและให้บริการภายใน 1 ปี โดยเร็วที่สุด